วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีกับการแปลภาษาจีน

ทุกวันนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อชีวิตของคนเรา  ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยใด เป็นหญิงหรือชาย ทำงานหรือเรียน ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จึงไม่แปลกหากจะมีการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ออกมาเรื่อยๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีเหล่านี้

การแปลภาษา (ในที่นี้จะเน้นไปที่การแปลภาษาจีนเป็นหลัก) ก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่ได้รับการตอบสนองจากเทคโนโลยีนี้ ปัจจุบันมีโปรแกรมแปลภาษาออกมาให้ได้เลือกใช้มากมาย ทั้งในรูปของซอฟต์แวร์สำเร็จรูป หรือเว็บไซต์บริการแปลภาษา เช่น Google Translate และ Bing Translator ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานให้แก่มนุษย์เรา

สมองคอมพิวเตอร์หรือจะสู้มนุษย์ได้
แม้การใช้โปรแกรมหรือบริการทางอินเทอร์เน็ตมาช่วยลดขั้นตอนในการแปลภาษาจีนจะเป็นทางลัดที่ช่วยย่นเวลาการทำงานได้มากโข แต่ก็ใช่ว่าผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นจะสามารถนำมาใช้งานได้ทันที เนื่องจาก ภาษาจีน (และภาษาอื่น) มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันอยู่ภายในตัวมันเอง ยกตัวอย่างเช่น คำคำหนึ่งอาจมีความหมายได้หลากหลายขึ้นอยู่กับบริบทรอบๆ หรือคำบางคำอาจเป็นคำทับศัพท์ไม่จำเป็นต้องแปล โครงสร้างไวยากรณ์ก็เป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การแปลภาษาจีนของเครื่องมือแปลภาษาเป็นไปได้ยาก ดังนั้นเมื่อตัดสินใจใช้เครื่องจักรแปลภาษาจีนแล้ว ก็ไม่ควรวางใจเสียทั้งหมด แต่ควรจะทำการตรวจทานและแก้ไขเพิ่มเติมอย่างน้อยๆ ก็อีกสักหนึ่งครั้ง


หากจะเปรียบเทียบประสิทธิการแปลภาษาจีนของเครื่องมือสำเร็จรูปกับนักแปลที่เป็นมนุษย์นั้น ย่อมมีความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน เพราะหากนักแปลคนนั้นเป็นผู้มีความชำนาญและเข้าใจถึงลักษณะของภาษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็เป็นเรื่องไม่ยากที่นักแปลผู้นั้นจะทำความเข้าใจถึงสำนวน ความหมายของคำ และรูปแบบไวยากรณ์ แล้วจึงถ่ายทอดออกมาในภาษาที่สละสลวยและครบถ้วนด้วยเนื้อหาใจความ แม้อาจต้องใช้เวลานานกว่าเครื่องจักรหลายเท่าตัวก็ตาม ทว่าก็วางได้ว่าผลงานที่ได้ออกมานั้นมีความสมบูรณ์ สามารถนำมาใช้งานตามเป้าประสงค์ที่วางไว้แต่แรกได้ทันที


ดังที่กล่าวมาข้างต้นก็ใช่ว่าทางเราจะไม่เห็นด้วยกับการใช้ซอฟต์แวร์แปลภาษาสำเร็จรูป หรือเว็บไซต์บริการแปลภาษาต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกไซเบอร์ กับการแปลภาษาจีนไปเสียทั้งหมด เพราะนวัตกรรมเหล่านี้ก็สามารถทำงานได้ดีในระดับหนึ่งและรวดเร็วทันใจจริง หากแต่ทางเราต้องการชี้ให้เห็นถึงข้อด้อย มิได้มองแต่ข้อดีในเรื่องความสะดวกสบายเพียงด้านเดียว ดังนั้นแล้วหากจะใช้เครื่องจักรหรือสมองและสองมือของคนเราก็ควรเลือกใช้ให้ถูกที่ถูกเวลาเป็นดีสุด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดข้อความแบบผิดๆ

ติดอาวุธความรู้พร้อมรับมือภาษาจีน

ภาษาทุกภาษาในโลกนี้ล้วนมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง  จริงอยู่ที่อาจมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง แต่ก็ใช่ว่าจะเหมือนกันไปเสียทุกอย่าง การถ่ายทอดข้อความหรือการแปลจากภาษาไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง อาทิ การแปลภาษาจีน จึงมักจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ใช่ว่าจะยากเกินความสามารถของมนุษย์เรา

ก่อนที่จะไปถึงขั้นการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย หรือการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน เราจึงควรเตรียมตัวให้พร้อมด้วยพื้นฐานตั้งแต่เริ่มต้น และการศึกษาลักษณะพิเศษของภาษาจีนก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งพื้นความรู้ ที่จะช่วยก่อร่างให้เราเป็นผู้แปลภาษาจีนที่เชี่ยวชาญได้ต่อไปในอนาคต

สองอาวุธชั้นดีที่ยิ่งรู้ก็ยิ่งเข้าใจ

1. ระบบคำศัพท์ ในภาษาจีนและไทยมีความคล้ายคลึงกันคือเป็นคำโดดๆ เพียงพยางค์เดียว และนำรากศัพท์มาประสมกันจนเกิดเป็นคำใหม่ การประกอบคำในภาษาจีนนั้น นอกจากใช้รากศัพท์มาประสมกันแล้ว ก็ยังมีหลากหลายวิธี เช่น เพิ่มคำลงท้ายในคำพยางค์เดียว การซ้ำคำ การซ้อนคำ และอื่นๆ จนทำให้จีนมีคำศัพท์หลายหมื่นคำ ข้อควรระวังในการประสมคำคือ ส่วนขยายต้องอยู่ข้างหน้าของส่วนที่ต้องการขยายเสมอ เช่น (หนังสือ) + (ร้าน) = ร้านหนังสือ เป็นต้น

สิ่งที่น่าประหลาดคือ รูปแบบการสร้างคำ การใช้ และสำนวนอุปมาอุปมัยในภาษาจีนนั้นไม่ได้ต่างกันแบบต่อกันไม่ติดกับภาษาไทย ซ้ำยังสัมพันธ์กันไม่น้อย จึงทำให้การแปลภาษาจีนเป็นไทยนั้นทำได้แบบตรงตัว ไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมให้ยุ่งยาก อีกทั้งภาษาจีนนั้นอาศัยการเรียงคำเป็นหลักเช่นเดียวกับภาษาของเรา ระบบคำศัพท์ โดยเฉพาะคำกริยา วิเศษณ์ และสันธาน รวมถึงความหมายและวิธีใช้ก็สามารถเทียบเคียงได้กับภาษาไทย เราจึงอาจใช้ความเคยชินในภาษาของเรามาช่วยในการแปลภาษาจีนได้ส่วนหนึ่ง

2. ระบบไวยากรณ์ ดังที่กล่าวไปว่าการเรียงคำเพื่อสร้างประโยคขึ้นมานั้นไม่ได้ต่างจากภาษาไทยมากนัก คือ มีประธาน กริยา กรรม หากเปลี่ยนลำดับการเรียงประโยคก็อาจจะไม่ได้มีความหมายตามเดิม หรือไม่มีความหมายใดๆ เลยก็ได้

อีกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าระบบไวยากรณ์ของจีนไม่ต่างจากไทยก็คือ จีนไม่มีกริยาแสดงเวลาเหมือนอย่างในภาษาอังกฤษ หากแต่ใช้คำวิเศษณ์มาเป็นตัวบอกเวลาเช่นเดียวกับภาษาไทย นอกจากนั้นแล้วภาษาจีนยังมีการคำสันธานเพื่อเชื่อมคำ เชื่อมประโยคด้วยเช่นกัน รวมทั้งยังมีการใช้ลักษณะนามด้วย โดยวิธีใช้ลักษณะนามก็จะขึ้นอยู่กับวัตถุ สิ่งของ หรือเหตุการณ์นั้นๆ ในประโยค ซึ่งก็ไม่ต่างจากภาษาไทยเรา


จากที่อธิบายมา คงจะพอมองเห็นว่าภาษาไทยและภาษาจีนนั้นไม่ต่างกันมากจนยากเกินกว่าการทำความเข้าใจ ยิ่งเมื่อนำความรู้นี้มาประกอบเข้ากับคำศัพท์และหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เจาะลึกลงไป ก็จะทำให้การแปลภาษาจีนมีคุณภาพยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สารพันปัญหาจากการจ้างแปลภาษาจีน

การเลือกจ้างนักแปลหรือศูนย์รับแปลภาษาจีนก็เหมือนกับการเลือกคบคน หากเจอนักแปลหรือศูนย์แปลที่ดี เราก็จะได้งานแปลภาษาจีนที่ดีมีคุณภาพสมน้ำสมเนื้อกลับมาเป็นผลตอบแทน แต่หากเคราะห์ร้าย โชคชะตานำพาให้ไปเจอนักแปลหรือศูนย์แปลที่ไร้คุณภาพ ไม่รักษาคำพูด งานหนักก็จะตกมาอยู่ที่คุณแล้ว เนื่องจากผลงานแปลภาษาจีนที่ได้ออกมานั้นอาจจะไม่สามารถนำมาใช้งานใดๆ ได้ หรืออย่างหนักสุดคือ ไม่ได้รับงานแปลใดๆ กลับมาเลย

ก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสเกริ่นถึง “ข้อควรระวังก่อนเสียเงิน จ้างแปล”  ไว้เล็กๆ น้อยๆ มาคราวนี้เราจะมาพูดกันแบบชัดๆ ถึงปัญหาที่พบมากในการจ้างแปลภาษาจีน ทั้งในรูปการจ้างศูนย์แปลที่จดทะเบียนในนามบริษัทและนักแปลอิสระทั่วไป เพื่อไว้เตือนใจผู้ใช้บริการอย่างเราๆ ก่อนที่จะตกลงปลงใจเสียเงิน

1. ตาลุกวาวเมื่อเจอของถูก เป็นธรรมดาที่ของถูกมักล่อตาล่อใจกว่าของที่มีราคาแพง การจ้างแปลภาษาจีนก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น โดยเฉพาะสำหรับนักเรียนนักศึกษาหรือผู้ประกอบการรายย่อยที่มีงบประมาณจำกัด ย่อมถูกชักจูงด้วยราคาค่าจ้างต่ำๆ ได้ง่าย แม้บางทีของถูกก็อาจจะดีได้ แต่ขอให้ลองพิจารณาหลายๆ ปัจจัยให้ดีก่อนจะตกลงปลงใจจ้างเป็นการดีที่สุด

2. จ้างแพงเพราะหวังงานดี ราคาค่าจ้างแปลภาษาจีนที่สูงอาจจะไม่ใช่เครื่องช่วยการันตีผลงานเสมอไป บางครั้งศูนย์แปลบางแห่งก็มีราคาแพงเนื่องจากต้องส่งงานให้แก่สถาบันแปลคุณภาพแห่งอื่น โดยบวกค่านายหน้าของตนเองเข้าไปในราคาที่เรียกเก็บจากเราด้วย หากเป็นกรณีนี้ เราก็จะได้งานดีมีคุณภาพจริงในราคาที่แพงกว่าที่ควรจะเป็น เพราะหากเราติดต่อกับศูนย์แปลคุณภาพโดยตรง เราก็จะประหยัดในส่วนของค่านายหน้าที่ถูกเรียกเก็บไป

3. ขึ้นชื่อว่านักแปลก็แปลได้เหมือนกัน หากใครมีความคิดเช่นนี้ ขอบอกเลยว่าเสี่ยงต่อการได้ผลงานไร้คุณภาพมาไว้ในครอบครองอย่างแน่นอน การแปลภาษาจีนนั้นมีความยากในตัวมันเองอยู่แล้ว เมื่อมาผสมเข้ากับอุปสรรคทางภาษา ยกตัวอย่างเช่น คำศัพท์เฉพาะ ก็ยิ่งทำให้ต้องใช้นักแปลที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขานั้นๆ เป็นต้น จากตัวอย่างที่ยกมา คงเห็นแล้วว่าไม่ใช่นักแปลคนใดก็แปลได้


4. การติดต่อสื่อสารเรื่องที่มักถูกมองข้าม ยิ่งเราสามารถติดต่อกับผู้ให้บริการหรือนักแปลได้สะดวกและรวดเร็วแค่ไหน ก็ยิ่งดีต่อการสื่อสารความต้องการ และที่สำคัญคือการทวงถามความคืบหน้าของงาน หากเรามีช่องทางการติดต่อน้อยหรือติดต่อได้ยาก ความฉับไวในการติดตามงานหรือเพิ่มเติมรายละเอียดของงานก็จะลดน้อยลง ส่งผลให้งานล่าช้าตามไปด้วย

งานแปลภาษาจีน เรื่องยากที่ไม่ยากเกินคว้า

คงไม่ใช่เรื่องแปลก หากทุกวันนี้ภาษาจีนจะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการติดต่อสื่อสาร เพราะหลังจากที่จีนเปิดประเทศมากขึ้น เศรษฐกิจโลกก็ได้ยักษ์ใหญ่อย่างจีนเข้ามาช่วยเพิ่มสีสัน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้การแปลภาษาจีนออกมาเป็นภาษาแม่ของเราหรือกลับกันนั้นเป็นที่ต้องการมากขึ้นตามไปด้วย

ไม่ใช่ใครก็แปลได้”
ภาษาจีนนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ต่างจากภาษาไทยของเรา จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาอื่น แต่ก็ใช่ว่าจะยากจนเกินความสามารถ ผู้แปลภาษาจีนนั้นจึงควรศึกษาภาษาจีนมานานจนเกิดความชำนาญ และได้สั่งสมประสบการณ์ในด้านการแปลภาษาจีนมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว อีกทั้งควรเป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ เพราะการแปลภาษาจีนนั้นไม่ได้ใช้เพียงความรู้ในเรื่องหลักไวยากรณ์ หากแต่ต้องอาศัยความรู้รอบตัวและความเข้าใจถึงวัฒนธรรมประเพณีอันยาวนานของจีนมาประกอบเข้าด้วยกัน

สองพื้นฐานที่พึงระลึกถึงในการแปลจีน
พื้นฐานที่ผู้แปลภาษาจีนควรทราบไว้ในเบื้องต้นสองข้อ ได้แก่
1. รูปแบบของตัวอักษรจีน คือ ตัวเต็ม (Traditional character) ใช้ในฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และบางชุมชนที่ก่อตั้งก่อนมีอักษรจีนตัวย่อ และตัวย่อ (Simplified character) ใช้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และบางชุมชนที่ก่อตั้งหลังมีอักษรจีนตัวย่อ โดยทั้งสองแบบนี้เป็นตัวอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
2. ตำแหน่งคำคุณศัพท์ เนื่องจากภาษาไทยเรามีรูปแบบการขยายคำนามคือ คำนาม + คำคุณศัพท์ อาทิ กล่อง + สีแดง แต่ในภาษาจีนนั้นจะไปคล้ายกับภาษาอังกฤษ คือคำคุณศัพท์จะอยู่หน้าคำนามนั่นเอง

จ้างแปล คำตอบสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด
หลายครั้งที่ทางออกในการแปลเอกสารต่างๆ จะจบลงที่การจ้างแปล ซึ่งภาษาจีนก็หนีไม่พ้นวัฏจักรนี้เช่นกัน  แม้ในปัจจุบันจะมีช่องทางในการจ้างแปลมากมาย ทั้งในรูปศูนย์แปลและผู้แปลอิสระ ทว่าดังที่กล่าวไปในเบื้องต้นว่า ไม่ใช่ใครก็แปลภาษาจีนได้ ฉะนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญในการคัดเลือกผู้ที่จะมารับผิดชอบงาน เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดก็อาจก่อความเสียหายได้อย่างมาก

ข้อควรระวังก่อนเสียเงินจ้างแปล
1. ประสบการณ์บ่งบอกคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์แปลหรือผู้แปลอิสระ ควรขอดูผลงานการแปลภาษาจีนและตกลงระยะเวลาในการส่งงานให้เรียบร้อย ก่อนตัดสินใจจ้าง
2. ของถูกใช่ว่าไม่ดี แต่ของแพงก็ใช่จะดีทั้งหมด ควรสอบถามราคาจากหลายๆ แห่ง พร้อมทั้งประเมินผลงาน
3. ความน่าเชื่อถือ เมื่อจะเลือกศูนย์แปลภาษาจีนสักแห่งก็ควรใช้ศูนย์ที่จดทะเบียนในรูปบริษัท


ในการนี้เราจึงขอแนะนำ ModernPublishing ซึ่งเป็นศูนย์แปลภาษาจีนชั้นแนวหน้า ที่คุณไว้ใจได้ เรามีทีมนักแปลที่เชี่ยวชาญทั้งชาวจีน และชาวไทย รู้ลึกทั้งวัฒนธรรมไทยและจีน เพื่อผลิตงานแปลที่มีคุณภาพ